บทความสาระน่ารู้
ชื่อกระทู้ : ((((((((ในหลวงทรงถาม พระอรหันต์ตอบ)))))))))

 
Zeiss  
ถูกใจกระทู้นี้ + 0ไม่ถูกใจกระทู้นี้ - 0
เรียงคำตอบ  เรียงจากเก่าไปใหม่ เรียงจากใหม่ไปเก่า
ส่งข้อความถึงสมาชิกคนนี้
ดู Profile , คำติชม []
Feedback ซื้อ-ขาย []
ดูรายการพระทั้งหมดที่ตั้งประมูล 2 รายการ
เสนอราคาประมูลพระ 407 รายการ
   
   


มหาบพิตร ในหลวงทรงถาม พระอรหันต์ตอบ
เป็นที่ทราบกันดีว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น เป็นพระราชาที่ทรงสนพระราชหฤทัย
ในการศึกษาและปฏิบัติธรรม มาตลอดระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา
ทั้งที่พระราชภารกิจที่มีอยู่มากมายนั้น น่าจะเป็นอุปสรรค แต่พระองค์
ก็ทรงสละเวลาพักผ่อนส่วนพระองค์อันน้อยนิด มาศึกษาและปฏิบัติธรรม

ความมั่นคงแน่วแน่ในการปฏิบัติธรรมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น
อาจสังเกตุเห็นได้ จากบทพระราชปุจฉาวิสัชนาธรรมอย่างลึกซึ้ง
และเอาจริงเอาจังกับการปฏิบัติ ดังที่ท่านจะได้อ่านต่อไปนี้

หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ
วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่

"พระองค์มัวแต่เป็นห่วงคนอื่น แต่ไม่ทรงห่วงพระองค์เองบ้างเลย.."

พระภิกษุพระยานรรัตนราชมานิต (ธมฺมวิตกฺโกภิกขุ)
วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร


"ในหลวงพระองค์นี้ ท่านเป็นพระโพธิสัตว์น๊ะ.."

หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
(พระราชสังวรญาณ)
วัดป่าสาลวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา


"วันหนึ่งข้างหน้า ในหลวงจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งของโลก"

"ในหลวงเป็นพระโพธิสัตว์ ปรารถนาพุทธภูมิ"

หลวงพ่ออุตตมะ
(พระครูอุดมสิทธาจารย์)
วัดวังก์วิเวการาม อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี


ครั้งหนึ่ง มีผู้พูดถึงผู้ยิ่งใหญ่ระดับประเทศ ให้หลวงพ่ออุตตมะฟัง
สังเกตุว่า หลวงพ่ออุตตมะท่านเฉยมากๆ
ก่อนที่ท่านจะปรารภออกมาอย่างราบเรียบที่สุด เหมือนมิได้ไยดีใดๆ ว่า

"เขาไม่ได้ทำประโยชน์อะไรมากเหมือนกับในหลวงหรอก.."

พระอาจารย์วัน อุตฺตโม
(พระอุดมสังวรวิสุทธิเถร)
วัดถ้ำอภัยดำรงชัย อ.ส่องดาว จ.สกลนคร


"มีแต่คนไม่ฉลาดเท่านั้นที่จะไม่รู้ว่า ในหลวงพระองค์นี้มีดีอย่างไร.."


บทพระราชปุจฉาวิสัชนาธรรม
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
กับ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
ณ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร

หลังจากนั้นประมาณหนึ่งสัปดาห์ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ได้เดินทางเข้ามาที่กรุงเทพฯ
เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงทราบข่าว
ก็ได้เสด็จพระราชดำเนินไปที่วัดบวรนิเวศวิหาร เพื่อกราบนมัสการทันที
พระองค์ทรงมีพระราชปฏิสันฐานและพระราชปุจฉาวิสัชนาธรรมกับหลวงปู่ฝั้น ดังนี้

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว : ท่านอาจารย์มากรุงเทพฯ รู้สึกเหนื่อยไหม ?

หลวงปู่ฝั้น : ขอถวายพระพร อาตมาถือเป็นเรื่องธรรมดา เนื่องได้เคยฝึกมาสมัยออกปฏิบัติ
ครั้งแรกไม่มีรถยนต์ มีแต่เดินด้วยเท้า ขอถวายพระพร

สมเด็จพระนางเจ้าฯ:คนทุกวันนี้เข้าใจว่าตายแล้วไม่เกิดถ้าคนตายแล้วไม่เกิดทำไมมนุษย์จึงเกิดกันมาก?
หากเดียรัจฉานเขาพัฒนาตนเอง จะถึงขั้นเกิดเป็นมนุษย์ได้ไหม ?

หลวงปู่ฝั้น : ได้.. เกี่ยวกับจิตใจ ใจคนมีหลายนัย ตัวเป็นมนุษย์ แต่ใจเป็นสัตว์
ตัวเป็นมนุษย์ แต่ใจเป็นเปรต ตัวเป็นมนุษย์ แต่ใจเป็นนรก ตัวเป็นมนุษย์ ใจเป็นนมุษย์หรือเทวดา
เป็นพรหม เป็นพระอรหันต์ เป็นพระพุทธเจ้า ก็มาจากคน

จะรู้ได้อย่างไร ให้นั่งพิจารณาดูที่ใจ ไม่อยู่ คิดโน่นคิดนี่นั่นแหละเรียกว่า มันไปต่อภพต่อชาติที่ว่าเกิด
ถ้าตายก็ไปเกิดตามบุญตามบาปที่ทำไว้
เป็นเปรต คือ ใจที่มีโมโห โทโส ริษยา พยาบาท
ใจนรก คือ ใจทุกข์ กลุ้มอกกลุ้มใจ
ใจเป็นมนุษย์ คือ ใจที่มีศีล ๕ มีทาน มีภาวนา
ใจเป็นเศรษฐี ท้าวพระยา มหากษัตริย์ คือ ใจดี
ใจเป็นเทวดา คือ มีเทวธรรม มีหิริความละอายบาป โอตตัปปะความเกรงกลัวบาปน้อยหนึ่งไม่อยากกระทำ
ใจเป็นพรหม มีพรหมวิหารธรรม
ใจว่างเหมือนอากาศ ใจพระอรหันต์ คือ ท่านพิจารณาความว่างนั้นจนรู้เท่า แล้วปล่อย เหลือแต่รู้
ใจพระพุทธเจ้า รู้แจ้งแทงตลอดหมดทุกอย่าง
หลวงพ่อเกษม เขมโก
สำนักสุสารไตรลักษณ์ อ.เมือง จ.ลำปาง




หลวงพ่อเกษม เขมโก เป็นพระนักปฏิบัติที่มีปฏิปทาแก่กล้า จัดได้ว่า
เป็นพระป่าธุดงธ์กรรมฐานสายภาคเหนือ ที่มีเอกลักษณ์เป็นของท่านเอง
การปฏิบัติสมถภาวนากรรมฐานของท่านนั้น เป็นแบบ "อุกฤษฏ์" คือ จริงจัง
และเคร่งครัดมาก เช่น อยู่อาศัยและภาวนาตามป่าช้ารกชัฏ บางครั้งก็นั่งภาวนากลางแดด
ที่ร้อนจัด หรือนั่งภาวนาท่ามกลางอากาศหนาวเย็นยามค่ำคืนในท้องถิ่นภาคเหนือ
หลวงพ่อเกษมจึงเป็นที่เคารพศรัทธาของชาวเหนือมาก ปกติท่านเป็นพระที่พูดน้อย
แต่คำพูดทุกคำล้วนแต่มีความหมายทั้งสิ้น ดังจะเห็นได้จากบทพระราชปุจฉาวิสัชนาธรรม
และพระธรรมเทศนาที่ท่านถวายแด่ในหลวง ในคำพูดสั้นๆนั้น ล้วนแต่มีความหมายที่บ่งบอกได้ว่า
หลวงพ่อเกษม คือ พระอริยเจ้าผู้รู้ธรรมอย่างแท้จริง


พระราชปุจฉาวิสัชนาธรรม
ระหว่าง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
กับ หลวงพ่อเกษม เขมโก
เสด็จพระราชดำเนินไปทรงตัดลูกนิมิต
ณ วัดคะตึกเชียงมั่น จังหวัดลำปาง พุทธศักราช ๒๕๒๑




พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว : หลวงพ่อประจำอยู่ที่วัดนี้หรือ ?

หลวงพ่อเกษม : ขอถวายพระพร อาตมาประจำอยู่ที่สุสานไตรลักษณ์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว : อยากไปหาหลวงพ่อเหมือนกัน แต่หาเวลาไม่ค่อยได้ ได้ทราบว่าเข้าพบหลวงพ่อยากมาก

หลวงพ่อเกษม : พระราชาเสด็จไปป่าช้าเป็นการไม่สะดวก เพราะสถานที่ไม่เรียบร้อย
อาตมาภาพจึงมารอเสด็จที่นี่ ขอถวายพระพร มหาบพิตรสบายดีหรือ ?

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว : สบายดี

หลวงพ่อเกษม : ขอถวายพระพร มหาบพิตรพระชนมายุเท่าไหร่ ?

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว : ได้ ๕๐ ปี

หลวงพ่อเกษม : อาตมาภาพได้ ๖๗ ปี

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว : หลวงพ่ออยู่ตามป่ามีความสงบ ย่อมมีโอกาสปฏิบัติธรรมได้มากกว่า
พระที่วัดในเมือง ซึ่งมีภารกิจเกี่ยวกับการปกครองและงานอื่นๆ จะเป็นอย่างนั้นหรือเปล่า ?

หลวงพ่อเกษม : ขอถวายพระพร อาจจะเป็นอย่างนั้นก็ได้ เพราะอยู่ป่าไม่มีภารกิจอย่างอื่น
แต่ก็ขึ้นอยู่กับศีลบริสุทธิ์ด้วย เพราะเมื่อศีลบริสุทธิ์ จิตไม่ฟุ้งซ่าน นิวรณ์ไม่ครอบงำ ก็ปฏิบัติได้

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว : การปฏิบัติอย่างพระมีเวลามากย่อมจะได้ผลเร็ว ส่วนผู้ที่มีเวลาน้อย
มีภารกิจมาก จะปฏิบัติอย่างหลวงพ่อก็ไม่อาจทำได้ แล้วจะมีวิธีปฏิบัติอย่างไร
เราจะหั่นแลกช่วงเวลาช่วงเช้าให้สั้นเข้าจะได้ไหม คือ ซอยเวลาออกจากหนึ่งชั่วโมงเป็นครึ่งชั่วโมง
จากครึ่งชั่วโมงเป็นสิบนาทีหรือห้านาที แต่ให้ได้ผล คือได้รับความสุขเท่ากัน ยกตัวอย่าง
เช่น นั่งรถยนต์จากเชียงใหม่มาลำปางก็สามารถปฏิบัติได้ หรือระหว่างที่มาอยู่ในพิธีนี้
มีช่วงเวลาที่ว่างอยู่ ก็ปฏิบัติเป็นระยะไปอย่างนี้ จะถูกหรือเปล่าก็ไม่ทราบ อยากจะเรียนถาม ?

หลวงพ่อเกษม : ขอถวายพระพร จะปฏิบัติอย่างนั้นก็ได้ ถ้าแบ่งเวลาได้

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว : ไม่ถึงแบ่งเวลาต่างหากออกมาทีเดียว ก็อาศัยเวลาขณะที่ออกมา
ทำงานอย่างอื่นอยู่นั้นแหละ ได้หรือไม่ คือ ใช้สติอยู่ทุกขณะจิตที่เกิดดับ
ทำงานด้วยความรอบคอบ ให้สติตั้งอยู่ตลอดเวลา

หลวงพ่อเกษม : ขอถวายพระพร มหาบพิตรทรงปฏิบัติอย่างนั้นถูกแล้ว การที่มหาบพิตร
เสด็จพระราชดำเนินมาปฏิบัติงานอย่างนี้ ก็เรียกว่า ได้ทรงเจริญเมตตาในพรหมวิหารอยู่

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว : ก็คิดว่าเป็นอย่างนั้น เช่นว่า มาตัดลูกนิมิตนี้ก็ถือว่าเป็นการปฏิบัติธรรม
ด้วยขี้เกียจมา จึงมีกำลังใจมาและเมื่อได้โอกาสได้เรียนถามพระสงฆ์ว่า การปฏิบัติธรรม
เป็นระยะเวลาสั้นๆ เป็นตอนๆ อย่างนี้จะได้ผลไหม อุปมาเหมือนช่างทาสีผนังโบสถ์
เขาทาทางนี้ดีแล้วพัก ทาทางโน้นดีแล้วพัก ทำอยู่อย่างนี้ก็เสร็จได้ แต่ต้องใช้เวลาหน่อย
จึงอยากเรียนถามว่า ปฏิบัติอย่างนี้จะมีผลสำเร็จไหม ?

หลวงพ่อเกษม : ปฏิบัติอย่างนั้นก็ได้ โดยอาศัยหลัก ๓ อย่าง คือ
มีศีลบริสุทธิ์ ทำบุญในชาติปางก่อนไว้มาก มีบาปน้อย ขอถวายพระพร

เจ้าคุณพระอิทรวิชยาจารย์ : ได้ตามขั้นของสมาธิ คือ อุปจารสมาธิ ได้สมาธิเป็นแต่เฉียดๆ
ขณิกสมาธิ ได้สมาธิเป็นขณะๆ เรียกว่า "อัปปนาสมาธิ" ได้สมาธิแน่วแน่วแน่ดิ่งลงไปได้นานๆ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว : ครับ ที่หลวงพ่อว่ามีศีลบริสุทธิ์ ชาติก่อนทำบุญไว้มาก
อยากทราบว่าผมเกิดเป็นอะไร ได้ทำอะไรบ้าง จึงได้มาเป็นอย่างนี้ ?

หลวงพ่อเกษม : (หลวงพ่อยิ้มและนิ่ง แล้วหันมาทางพระครูปลัดจันทร์ กตปุญโญ
...ซึ่งเป็นผู้จดบันทึก... แล้วจึงค่อยตอบว่า) ตอบยาก !

พระครูปลัดจันทร์ : ขอถวายพระพร หลวงพ่อไม่อาจจะพยากรณ์ถวายมหาบพิตรได้

เจ้าคุณพระอินทรวิชยาจารย์ : พลวงพ่ออาจจะเกรงพระราชหฤทัยมหาบพิตรก็ได้ ขอถวายพระพร

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว : หลวงพ่อไม่ต้องเกรงใจว่าเป็นพระราชา ขอให้ถือว่า
สนทนาธรรมก็แล้วกัน ยินดีรับฟัง มีคนพูดกันว่า ชาติก่อนผมเกิดเป็นนักรบมีบริวารมาก
ถ้าเป็นอย่างนั้น ศีล ๕ จะบริสุทธิ์ได้อย่างไร การเป็นนักรบนั้นจะต้องได้ฆ่าคน สงสัยอยู่ ?

หลวงพ่อเกษม : (หันมากระซิบกับพระครูปลัดจันทร์ว่า) เอ..ใครทำนายถวายท่านอย่างนั้นก็ไม่รู้
เราไม่รู้ เราไม่มีอตีตังสญาณ อนาคตังสญาณ (ญาณหยั่งรู้อดีต และญาณหยั่งรู้อนาคต)
ตอบยาก...ต้องหลวงพ่อเมืองซิ

พระครูปลัดจันทร์ : ขอถวายพระพร หลวงพ่อยืนยันว่า มหาบพิตรมีศีลบริสุทธิ์และทรงมีบุญมาก

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว : เรื่องบุญกับกุศลนี้ก็อีกเรื่องหนึ่ง ตามที่รู้ ผู้ทำบุญหรือผู้มีบุญ
ได้ผลแค่เทวดาอยู่สวรรค์ ผู้มีกุศลหรือทำกุศลมีผลให้ได้นิพพาน ถ้าอย่างนั้นที่ว่าพระราชามีบุญมาก
ก็คงได้แค่เป็นเทวดาอยู่บนสวรรค์เท่านั้น ไม่ได้นิพพาน ทำไมเราไม่พูดถึงกุศลกันมากๆ บ้าง
หลวงพ่อสอนให้คนปฏิบัติธรรมตามแนวปฏิบัติของหลวงพ่อบ้างหรือเปล่า ?

หลวงพ่อเกษม : ขอถวายพระพร อาตมาภาพได้ทราบว่าที่วัดปากน้ำ วัดมหาธาตุ
ก็มีสอนวิปัสสนากัมมัฏฐาน มหาบพิตรเคยเสด็จไปบ้างไหม ?

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว : ทราบ แต่ไม่เคยไป หลวงพ่อสอนอย่างไร อยากฟังบ้าง
และอยากได้เป็นแนวปฏิบัติ เอาอย่างนี้ดีไหม มีเครื่องหรือเปล่า ?

พระครูปลัดจันทร์ : ขอถวายพระพร เครื่องเทปของวัดมี

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว : ขอให้หลวงพ่อสอนตามแนวของหลวงพ่อที่เคยสอน จะสอนอะไรก็ได้

หลวงพ่อเกษม : ขอถวายพระพร มีเป็นพระเภทภาษิตคติธรรมต่างๆ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ห้ว : อะไรก็ได้ ขอให้เป็นคำสอนก็ใช้ได้

หลวงพ่อเกษม : ได้ ขอถวายพระพร

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว : ขอนมัสการลา
หลวงพ่อสมชาย ฐิตวิริโย
(พระวิสุทธิญาณเถร)
วัดเขาสุกิม อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี


หลวงพ่อสมชาย ฐิตวิริโย เป็นพระอริยเจ้าลูกศิษย์รุ่นสุดท้ายของหลวงปู่มั่น
เดิมทางต้นสกุลท่านนับถือศาสนาพราหมณ์ แต่ตัวท่านเองนั้นสนใจพุทธศาสนามาตั้งแต่เยาว์วัย
ท่านได้เรียนรู้ธรรมะเรื่อง "มรณสติ" ตั้งแต่วัยเด็ก เพราะโยมมารดาเสียตั้งแต่ท่านอายุได้ ๒ ขวบ
เมื่อคุณตาที่อุปการะดูแลท่านได้ไม่นานนักมาเสียไปอีกคน ท่านจึงไปขออาศัยอยู่กับญาติ
ที่มีศักดิ์เป็นพี่ชายและพี่สะใภ้ หลังจากไปอยู่ได้ไม่นาน พี่สะใภ้ก็มาเสียไปอีกคน
การที่ท่านได้เห็นคนที่รักและเคารพจากไปคนแล้วคนเล่านี้เอง ที่เป็นอุบายธรรมที่ทำให้ท่านได้เห็น
และพิจารณาจนเกิดความปลงสังเวชในชีวิต เพียงแต่หน้าที่ในขณะนั้นบังคับอยู่
ท่านจึงยังไม่ออกบวชตามประสงค์ เรื่อง "มรณสติ" นี้ ถือเป็นจุดเด่นของหลวงพ่อสมชาย
เพราะในที่สุดท่านก็ได้เผชิกับความตายด้วยตนเอง (เรียกว่า ตายแล้วฟื้น)
ท่านจึงพร่ำสอนธรรมะเรื่อง "มรณสติ" ให้ลูกศิษย์พิจารณาอยู่เสมอ


พระราชปุจฉาวิสัชนาธรรม
ระหว่าง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
กับ หลวงพ่อสมชาย ฐิตวิริโย
เสด็จพระราชดำเนินในการประกอบพิธีเททองหล่อพระประธาน
ณ วัดเขาสุกิม จังหวัดจันทบุรี
วันที่ ๓ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๒๐




พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว : ผู้คนเขามาวัดทำไมกัน ?

หลวงพ่อสมชาย : ผู้มาวัดมาด้วยเหตุต่างๆกัน บางคนเป็นคนดีอยู่แล้ว มาวัดด้วยมุ่งทำความดี
ให้มากขึ้นด้วยการถือศีลภาวนา บางคนมาด้วยความอยากรู้อยากเห็น ทางวัดเขาจะทำอะไรกันบ้าง
บางคนมาด้วยความตั้งใจจริงๆ ที่จะมาช่วยงานวัด เพราะเห็นว่าอยู่บ้านไม่มีธุระที่จะต้องทำ
บางคนก็มาด้วยเหตุที่ว่า อยู่บ้านมีแต่ปัญหา ล้วนแล้วแต่เบื่อหน่าย สู้มาวัดหาความสงบดีกว่า ก็มี
เรียกว่า มาวัดทำให้สบายใจ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว : ที่ว่าชาวบ้านเขาเบื่อหน่าย เขาเบื่ออะไรกัน ?

หลวงพ่อสมชาย : การเบื่อหน่ายของชาวบ้านมีสองอย่าง บางคนเบื่อการงานที่จำเจ ก็หาเวลามาวัด
เพื่อพักผ่อน เป็นการเบื่ออย่างไม่จริงจัง บางคนมีความเบื่อจริงๆ โดยเห็นว่าการเป็นอยู่ทางโลกนั้น
ถึงจะมั่งมีสามารถหาความสุขได้ทุกอย่างก็จริง ล้วนแต่เป็นความสุขชั่วคราว ไม่ใช่ความสุขที่แท้จริง
เหมือนความสุขทางธรรม บ้างว่าเกิดมาแล้วก็หนีตายไม่พ้น ก่อนจะตายก็ควรทำอะไรๆ อันเป็นเหตุให้ตายดีมีความสุข ก็มี

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว : การสอนให้คนนึกถึงความตายนั้น ถ้าหากสอนไม่ดีแล้ว
ก็เป็นเหตุให้เกิดความเกียจคร้านในการแสวงหาเลี้ยงชีพ ทำให้เป็นคนจน เป็นภาระของสังคมได้
เพราะฉะนั้น ต้องระวังในการสอน อย่าให้เกิดผลร้าย

หลวงพ่อสมชาย : โดยปกติ พระจะสอนให้เห็นโทษของความมัวเมา ซึ่งเป็นตัวเหตุ
ให้เกิดความเห็นผิดเป็นชอบ มักจะสอนให้คิดรู้เห็นในทางที่ถูกก่อน เช่น
๑. อย่ามัวเมาในวัยว่ายังเป็นหนุ่มเป็นสาวอยู่
๒. อย่ามัวเมาในความไม่มีโรคมาเบียดเบียน
๓. อย่ามัวเมาในชีวิตว่าเวลาของเรายังมีอยู่
ด้วยเหตุดังถวายพระพรมาแล้ว ทางพระจึงสอนให้ทุกคนนึกถึงความตาย ถ้าไม่สอนให้เข้าใจถูกก่อน
กลับจะเป็นผลร้ายดังพระราชปุจฉาโดยแท้ การเจริญมรณสตินั้น ชั้นต้นเพื่อให้รู้ว่า
ทุกคนหนีความตายไม่พ้น ไม่ว่าจะเป็นคนมีคนจน มีความตายเหมือนกันทั้งนั้น สำหรับผู้ทำการ
ภาวนาเจริญกรรมฐานเพื่อให้นิวรณ์สงบ ก็จำเป็นต้องพิจารณาเป็นอย่างๆไป ความตายคือนายเพชฌฆาต
ความตายคือต้องพลัดพรากจากสมบัติทุกอย่าง เขาตายเราก็ตายเหมือนเขา
ชีวิตเป็นของที่กำหนดเองไม่ได้ หรือจะกำหนดว่าอายุเท่านั้นเท่านี้จะต้องตาย ก็กำหนดไม่ได้
หลวงปู่ดูลย์ อตุโล
(พระราชวุฒาจารย์)
วัดบูรพาราม อ.เมือง จ.สุรินทร์


พระราชวุฒาจารย์ หรือ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เป็นลูกศิษย์รุ่นใหญ่ของหลวงปู่มั่น
หลวงปู่ดูลย์มีปฏิปทาธรรมที่เรียบง่าย จริงจัง มีเมตตาจิตต่อศิษยานุศิษย์และผู้อยู่ใกล้ชิดเสมอ
เอกลักษณ์ของท่านคือ ท่านเป็นพระที่พูดน้อยมาก คำพูดของท่านทุกคำมักจะกลั่นกรองแล้ว
จึงพูดออกมา และเป็นคำพูดที่ประกอบด้วยเมตตาเสมอ ท่านได้ปักหลักดำรงค์ขันธ์อยู่
เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรให้กับชาวพุทธแถบอีสานใต้ และเป็นที่เคารพบูชาของชาวพุทธ
แถบอีสานใต้ตลอดมา จนมีผู้พร้อมใจกันขนานนามท่านว่า "พระอรหันต์แห่งอีสานใต้"


พระราชปุจฉาวิสัชนาธรรม
ระหว่าง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
กับ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล



พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว : หลวงปู่ การละกิเลสนั้นควรจะละกิเลสอะไรก่อน ?

หลวงปู่ดูลย์ : กิเลสทั้งหมดเกิดรวมอยู่ที่จิต ให้เพ่งมองดูที่จิต อันไหนเกิดก่อน ให้ละอันนั้นก่อน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว : ขออาราธนาหลวงปู่ให้ดำรงขันธ์อยู่เกินร้อยปี
เพื่อเป็นที่เคารพของปวงชนทั่วไป หลวงปู่รับได้ไหม ?

หลวงปู่ดูลย์ : อาตมาภาพรับไม่ได้หรอก แล้วแต่สังขารเขาจะเป็นไปของเขาเอง

ทั้งนี้ เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า ชีวิตเป็นของน้อย จะตายเมื่อไหร่ไม่มีใครรู้ได้ ขอถวายพระพร
หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
(พระราชสังวรญาณ)
วัดป่าสาลวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา



หลวงพ่อพุธ ฐานิโย (พระราชสังวรญาณ) เป็นลูกศิษย์รุ่นสุดท้ายของหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล
ซึ่งถือว่าเป็นพระอาจารย์และสหธรรมิก (สหายธรรม) ของหลวงปู่มั่น อีกทั้งยังได้ปฏิบัติธรรมร่วมกับ
พระอาจารย์ที่เป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่มั่นท่านอื่นๆในสมัยนั้นอีกด้วย


พระราชปุจฉาวิสัชนาธรรม
ระหว่าง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
กับ หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
ณ วัดป่าสาลวัน จังหวัดนครราชสีมา



พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว : คำว่า "ภาวนา" และ "บริกรรม" ต่างกันอย่างไรขอรับ คือ
เคยฟังพระเถระผู้ใหญ่ บอกว่า การภาวนานี้ไม่ว่าอยู่ที่ไหน แม้ไม่อยู่ในสมาธิ
แม้ทำอะไรก็สามารถทำได้อยู่ได้ตลอดเวลา ใช่ไหมขอรับ ?

หลวงพ่อพุธ : ใช่แล้ว คำว่า "ภาวนา" กับ "บริกรรม" มีต่างกัน ภาวนา หมายถึง การอบรม
คุณงามความดีให้เกิดขึ้น เป็นสมบัติของผู้อบรม เช่น อบรมใจให้มีความเลื่อมใส ในการบำเพ็ญภาวนา
ก็ได้ชื่อว่า ภาวนา แต่บริกรรมนั้น หมายถึง จิตของผู้ปฏิบัตินึกอยู่ใน คำใดคำหนึ่งโดยเฉพาะ
เช่น พุทโธ เป็นต้น ซ้ำๆ อยู่ในคำเดียวเรียกว่า "บริกรรม" บริกรรมก็คือส่วนของภาวนานั่นเอง

หลวงพ่อพุธ : เมื่อตะกี้ได้ถามอะไรอาตมาอีก

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว : ภาวนาทำได้ตลอดเวลาทุกสถานที่หรือไม่

หลวงพ่อพุธ : การภาวนานี้ทำได้ตลอดเวลา ทุกที่ ทุกสถานที่ ไม่เลือกกาล ไม่เลือกเวลา
เช่น อย่างภาวนาในขั้นบริกรรมภาวนา เช่น ภาวนา พุทโธ พุทโธ พุทโธ ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม
ทำ พูด คิด ตลอดทุกอิริยาบถ บริกรรมภาวนาพุทโธ พุทโธ ได้ ทีนี้ถ้าหากว่าไม่นึกบริกรรมภาวนา พุทโธ
การกำหนดรู้ทุกอิริยาบถ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ทำ พูด คิด รู้อยู่ตลอดเวลา อันนี้เป็นการภาวนา
จุดมุ่งหมายของการภาวนา หรือบริกรรมภาวนา ก็อยู่ที่ความต้องการความมีสติสัมปชัญญะ
มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ดีแล้ว จิตก็มีสมรรถภาพ ในการคุ้มครองตัวเอง ให้ยืนยันอยู่ใน
ความเป็นอิสรภาพ ถึงแม้ว่าจะไม่เป็นอิสรภาพโดยเด็ดขาดทุกอย่างก็ตาม ตราบใดที่จิตยังตกอยู่ในอำนาจ
ของอารมณ์กิเลสและสิ่งแวดล้อม จิตก็รู้ตัวว่ายังหย่อนสมรรถภาพอยู่ในอำนาจของสิ่งแวดล้อม
จิตก็ย่อมรู้ การบริกรรมภาวนา บางท่านเมื่อจิตไม่ตรงกับนิสัยบริกรรมภาวนาเป็นปีๆ จิตไม่สงบ
ก็มีอุบาย ที่จะปฏิบัติได้ คือ ต้องกำหนดรู้ดูความคิดของตนเองตลอดเวลาว่าเราคิดอะไรก็รู้ สิ่งที่คิด
มันหายไปก็รู้ อันใหม่เกิดขึ้นมาก็รู้ กำหนดรู้ตามไปเรื่อยๆ เมื่อจิตมีสติกำหนดตามรู้ความคิค
กำหนดทันความคิดของจิตเมื่อใด เมื่อนั้นจิตจะสงบเป็นสมาธิได้

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว : คำว่า "วิญญาณ" หมายความว่า "ธาตุรู้" ใช่ไหมขอรับ ?

หลวงพ่อพุธ : คำว่า "วิญญาณ" คือ "ธาตุรู้" วิญญาณในเบญจขันธ์
หมายถึง วิญญาณรู้จากของ ๒ อย่างกระทบกัน เช่น
"ตา" กับ "รูป" กระทับกัน เกิดภูมิรู้ขึ้น เรียกว่า "จักขุวิญญาณ"
"เสียง" กับ "หู" กระทบกัน เกิดภูมิรู้ขึ้น เรียกว่า "โสตวิญญาณ"
"กลิ่น" กับ "จมูก" กระทบกัน เกิดภูมิรู้ เรียกว่า "ฆานวิญญาณ"
"ลิ้น" กับ "รส" กระทบกัน เกิดภูมิรู้ เรียกว่า "ชิวหาวิญญาณ"
"กาย" กับ "สิ่งสัมผัส" กระทบกัน เกิดภูมิรู้ขึ้นเรียกว่า "กายวิญญาณ"
"จิต" นึกคิด "อารมณ์" เกิดภูมิรู้ขึ้น เรียกว่า "มโนวิญญาณ" อันเป็นวิญญาณในขันธ์ ๕
ทีนี้ "วิญญาณ" ในปฏิจจสมุปบาท หมายถึง "ปฏิสนธิวิญญาณ" คือ วิญญาณรู้ผุด รู้เกิด

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว : พอจิตนิ่ง ลมหายใจจะหายไป และคำภาวนาก็หายไปพร้อมกัน
แต่รู้สึกเช่นนี้เพียงเดี๋ยวเดียวก็หายไป ควรจะทำอย่างไรต่อไป ?

หลวงพ่อพุธ : เมื่อจิตสงบนิ่งลงไปแล้ว จิตจะสงบละเอียดไปถึงจุดที่เรียกว่า "อัปปนาสมาธิ"
ลมหายใจก็ทำท่าจะหายขาดไป คำภาวนาก็หายไป พอรู้สึกว่ามีอาการเป็นอย่างนี้เกิดขึ้น
ก็เกิดอาการตกใจ แล้วจิตก็ถอนจากสมาธิ เมื่อจิตถอนออกจากสมาธิแล้ว เกิดความรู้สึกตัวขึ้นมา
ถ้ายังเสียดายความเป็นของจิตในขณะนั้น ให้กำหนดจิตพิจารณาใหม่ จนกว่าจิตจะสงบลงไป
จนกว่าลมหายใจจะหายขาดไป คำภาวนาจะหายไป ถ้าตอนนี้เราไม่เกิดเอะใจหรือเปลี่ยนใจขึ้นมาก่อน
จิตจะสงบนิ่งละเอียดลงไปกว่านั้น ในที่สุดจิตก็จะเข้าสู่"อัปปนาสมาธิ"อยู่ในขั้นตัวก็หายไปหมด
ยังเหลือแต่จิตรู้สงบสว่างอยู่อย่างเดียว ร่างกายตัวตนไม่ปรากฏ

แต่ถ้าไม่ทำอย่างนั้น เมื่อลมหายใจหายไป คำภาวนาก็จะหายไป แล้วก็จะรู้สึกตัวขึ้นมา
เลื่อนให้จิตมา "พิจารณา" พิจารณาโดย"เพ่ง"กำหนดลงที่ใดลงหนึ่ง จะบริเวณร่างกายลงที่ใดที่หนึ่ง
จะบริเวณร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง เช่น กระดูก พิจารณาจนจิตเห็นกระดูก แต่ตายังไม่เห็นก่อน
ให้พิจารณาจนจิตสงบเห็นกระดูกชัดเจน ในทำนองนี้จะทำให้จิตเป็นสมถกรรมฐานเร็วขึ้น
ซึ่งเคยมีตัวอย่างครูบาอาจารย์ให้คำแนะนำกันมา คือ ท่านอาจารย์องค์หนึ่งภาวนาพุทโธ มาถึง ๖ ปี
จิตสงบลงไป แต่ทำท่าว่าลมหายใจจะหายไป คำภาวนาก็หายไป แล้วสมาธิก็ถอนออก
จิตไม่ถึงความสงบสักที อาจารย์องค์นี้จึงไปถามอาจารย์อีกองค์หนึ่ง ซึ่งอาจารย์องค์นี้เป็นชีผ้าขาว
ไม่ได้บวชเป็นเณร ว่า "ทำอย่างไรจิตมันจะสงบดีๆ สักที" อาจารย์องค์นั้นก็ให้คำแนะนำ ว่า
"ให้เพ่งลงที่หน้าอก พิจารณาให้เห็นกระดูก โดยพิจารณาลอกหนังออก แล้วจึงจ้องจิตบริกรรม
ภาวนาลงไปว่า อัฐิ อัฐิ อัฐิ" อาจารย์ที่ถามจึงนำวิธีการนี้ไปปฏิบัติ ก็เกิดจิตสงบเป็นสมาธิ ในครั้งแรก
ก็มองเห็นเศษกระดูกตรงนั้น จิตมันก็นิ่งจ้องอยู่ตรงนั้น และผลสุดท้ายก็มองเห็นโครงกระดูกทั่วตัวไปหมด
ในเมื่อมองเห็นโครงกระดูกอยู่ชั่วขณะหนึ่ง โครงกระดูกก็พังลงไปและสลายตัวไป สลายไปหมด
ยังเหลือแต่จิตสงบนิ่ง สว่างอยู่อย่างเดียว และในอันดับต่อไปนั้น จิตจะสงบนิ่ง สว่างอยู่เฉยๆ
ภายหลังเมื่อจิตสงบสว่างอยู่พอสมควรแล้ว ก็เกิดความรู้อันละเอียดขึ้นมาภายในจิต แต่ไม่ทราบว่าอะไร
มันมีลักษณะรู้ขึ้นมาแล้วก็ผ่านไป มันเหมือนกับกลุ่มเมฆที่มันผ่านสายตาเราไปนั่นแหละ จิตก็นิ่งเฉย
สงบนิ่ง สว่างอยู่ตลอดเวลา ที่มีให้รู้ให้เห็นก็ผ่านไปเรื่อยๆ

เราลองนึกภาพดูว่า ที่เกิดขึ้นเช่นนี้เรียกว่าอะไร อาการเป็นเช่นนี้เป็นภูมิรู้ภูมิปัญญาอย่างละเอียด
ของจิตเกิดขึ้น ซึ่งเป็นความจริงที่อยู่เหนือสมมติบัญญัติ สภาวธรรมส่วนที่เป็นสัจธรรมเกิดขึ้นในจิต
ของผู้ปฏิบัติ มีแต่สิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่ ซึ่งท่านอาจารย์มั่นเรียกว่า "ฐีติภูตัง" ซึ่งมีความหมายว่า
"ฐีติ" คือ ความตั้งเด่นของจิต อยู่ในสภาพที่สงบนิ่ง เป็นกิริยาประชุมพร้อมของอริยมรรค
ยังจิตให้บรรลุถึงความสุคติภาพโดยสมบูรณ์ เมื่อจิตประชุมพร้อม ภายในจิตมีลักษณะสงบ นิ่ง สว่าง
อำนาจของอริยมรรคสามารถปฏิบัติจิตให้เกิด ภูมิรู้ภูมิธรรมอย่างละเอียด ภูมิรู้ภูมิธรรม
ซึ่งเกิดขึ้นอย่างละเอียด ไม่มีสมมติบัญญัติ เรียกว่า "ภูตัง" หมายถึงสิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่
โดยธรรมชาติของมันอย่างนั้น แต่ไม่ทราบว่าจะเรียกว่าอะไร

สงสัยต่อไปในเมื่อเราไม่สามารถจะเรียกว่าอะไร ทำอย่างไรเราจึงจะรู้สิ่งนั้น
พระพุทธเจ้าไม่ได้บอกไว้ แม้แต่ท่านแสดงธรรมจักรฯ ให้ภิกษุปัญจวัคคีย์ฟัง
เมื่อท่านอัญญาโกณฑัญญะรู้ธรรม เห็นธรรม ก็รู้แต่ว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา"
หลวงปู่โต๊ะ อินทสุวัณโณ
(พระราชสังวราภิมณฑ์)
วัดประดู่ฉิมพลี เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร



หลายคนคงเคยได้ยินชื่อ หลวงปู่โต๊ะ อินทสุวัณโณ (พระราชสังวราภิมณฑ์)
วัดประดู่ฉิมพลี โดยรู้จักผ่านชุดพระเครื่องอันโด่งดังของท่าน แท้จริงแล้ว
หลวงปู่โต๊ะเป็นพระอริยเจ้านักปฏิบัติ ที่มีปฏิปทาอันเรียบง่าย รักสันโดษ
การปฏิบัติธรรมของท่านเป็นไปอย่างราบเรียบ แต่หนักแน่นและจริงจัง


พระราชเสาวนีย์
ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
ถึง หลวงปู่โต๊ะ อินทสุวัณโณ



เมื่อปี พุทธศักราช ๒๕๒๓ หลังจากเกิดเหตุการณ์เครื่องบินลำเล็กของการบินไทยตก
ที่อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ซึ่งมีพระอริยเจ้าองค์สำคัญที่รับนิมนต์มาที่กรุงเทพฯ
ร่วมเดินทางมากับเครื่องบินลำนี้ด้วย เหตุการณ์ในครั้งนั้นทำให้พระอาจารย์สายพระป่าธุดงค์กรรมฐาน
มรณภาพรวม ๕ รูป คือ พระอาจารย์วัน อุตตโม พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ
พระอาจารย์สิงทอง ธัมมวโร พระอาจารย์บุญมา ฐิตเปโม และพระอาจารย์สุพัฒน์ สุขกาโม
ซึ่งพระอาจารย์เหล่านี้ล้วนแต่เป็นพระอาจารย์นักปฏิบัติ ลูกศิษย์หลวงปู่มั่นรุ่นกลาง
ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เคารพบูชา
สร้างความโศกพระทัยให้แก่ทั้งสองพระองค์เป็นอย่างยิ่ง จนเมื่อได้กราบนมัสการ
หลวงปู่โต๊ะ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จึงตรัสถามธรรมะเรื่องนี้กับท่าน

สมเด็จพระนางเจ้าฯ : รู้แล้วว่าคนเรานั้นตายเมื่อไหร่ก็ได้ทั้งนั้น แต่กลับไปคิดว่าพระอริยเจ้าทั้งหลายนั้น
ท่านปฏิบัติแต่กรรมดีเท่านั้น เลยมิได้คิดว่า พระอริยเจ้าท่านจะต้องมาประสบอุปัทวเหตุเช่นนี้

หลวงปู่โต๊ะ : โลกนี้เขาก็เป็นของเขาอย่างนี้แหละ ไม่มีอะไรที่ยึดถือได้ว่า "แน่นอน"ถ้าคนเรามีศัทธาว่า
พระพุทธองค์ท่านหยั่งรู้ซึ้งถึงโลกนี้เป็นอย่างดีด้วยพระปัญญาคุณของพระองค์ท่านเอง
พระพุทธองค์ทรงสงสารเมตตาสัตว์โลก ว่าเวียนวนอยู่ในความทุกข์ทรมานไม่มีที่สิ้นสุด
พระพุทธองค์ได้ทรงพบทางพ้นความทุกข์โดนสิ้นเชิงแล้วด้วยพระปัญญาคุณ
ทรงพระเมตตาบอกทางพ้นความทุกข์ให้แก่ทุกๆคน จะไปหาที่ไหนอีกล่ะ
ผู้ที่เปี่ยมล้นไปด้วยความเมตตาอันบริสุทธิ์ต่อมวลมนุษย์
หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ
วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่





หลวงปู่หลุย จันทสาโร
วัดถ้ำผาบิ้ง อ.วังสะพุง จ.เลย




เรื่องราวพระอรหันต์ทั้งสอง กับ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

พระคุณเจ้าทั้งสองทั้งองค์หลวงปู่แหวน และองค์หลวงปู่หลุย ล้วนแล้วเป็นศิษย์เอกหลวงปู่มั่นทั้งสิ้น
ได้อบรมธรรมจากหลวงปู่มั่นมาอย่างเข้มแข็ง ท่านทั้งสองเป็นพระหมดกิเลสแล้วสาธุ

เรื่องของหลวงปู่หลุย จันทสาโร

มีอยู่ครั้งหนึ่ง หลวงปู่หลุยท่านได้มาพักที่วัดดอยแม่ปั๋ง กะว่าจะอยู่กับหลวงปู่แหวนไปสักพักนึงก่อน
เพราะว่าเป็นคนจังหวัดเลยด้วยกัน พออยู่ต่อมาหลวงปู่หลุยได้ยินข่าวว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ะเสด็จฯมากราบหลวงปู่แหวน หลวงปู่หลุยได้ยินดังนั้น ก็รีบไปอยู่ที่อื่น ไปอยู่ที่อำเภอแม่แตง
หลวงปู่หลุยท่านกลัวพูดกับพระราชามหากษัตริย์ไม่เป็น หลวงปู่หลุยท่านพูดว่า
"พูดกับพระราชาไม่เป็น นี่คอขาดบาดตายนะเรา เป็นพระป่าพระดงไม่รู้อิโหน่อิเหน่อะไร"

ท่านพูดเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯมากราบหลวงปู่แหวนแล้ว หลวงปู่แหวนท่านก็พูดกับในหลวงว่า

หลวงปู่แหวน : ท่านหลุยก็มาอยู่นี่แหละ แต่หนีไปอยู่ที่แม่แตงแล้ว กลัวพูดกับพระราชามหากษัตริย์ไม่เป็น กลัวคอขาดบาดตาย ว่าอย่างนั้น

สมเด็จพระนางเจ้าฯ : ไม่เป็นอย่างนั้นดอกพระเจ้าข้า พวกดิฉันไม่ได้ถือยศฐาบรรดาศักดิ์อะไรหรอกเจ้าข้า พูดแบบนี้ เป็นกันเองนี้แหละเจ้าข้า

สมเด็จพระนางเจ้าฯ : เมื่อดิฉันกลับจากที่นี้ไปแล้ว จะไปกราบหลวงปู่หลุยให้ได้ ไม่ต้องกลัวเจ้าข้า

ในหลวงท่านเสด็จมากราบหลวงปู่แหวนแต่ละครั้ง ตั้งแต่บ่ายสองโมง จนถึงหนึ่งทุ่มสองทุ่มเป็นประจำ
การเสด็จมาวัดดอยแม่ปั๋ง แต่ละครั้ง ถือเป็นการส่วนตัวพระองค์เอง

ครั้นต่อมาสมเด็จพระราชินีได้ให้ราชเลขาไปตามหาหลวงปู่หลุย ว่าท่านอยู่ที่ไหน ก็ทราบว่า
หลวงปู่หลุยท่านไปพักอยู่ที่วัดหลวงปู่ตื้อ หรือว่าวัดพระอาจารย์เปลี่ยน ผู้เขียนก็จำไม่ค่อยได้
สมเด็จพระราชินีก็ได้เสด็จฯไปกราบหลวงปู่หลุย ตั้งแต่นั้นมาหลวงปู่หลุยก็ได้เข้าๆ ออกๆ
อยู่กับพระราชวังตลอดมา ตราบเท่าหลวงปู่หลุยมรณภาพ อันนี้คือ ด้วยพระบารมีปกเกล้าปกกระหม่อม
ที่เป็นพระมหากษัตริย์ไทยของเรา ได้เข้าไปถึงประชาชนทุกที่ทุกแห่งหนตำบลใดก็ตาม
มีพระเจ้าพระสงฆ์ที่ท่านได้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในป่าในเขาที่ไหนๆ ก็ตาม ท่านก็ย่อมเข้าถึงที่ทุกๆแห่ง

เรื่องของหลวงปู่แหวน สุจิณโณ

หลวงปู่แหวนได้ป่วยหนัก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ท่านได้อาราธนาให้ หลวงปู่แหวนไปรักษาตัว
ที่โรงพยาบาลเชียงใหม่ ตึกสุจิณฺโณ ในหลวงท่านได้รับเอาหลวงปู่ไว้เป็นคนไข้ของพระองค์เอง
นในวันที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๒๘ หลวงปู่แหวนท่านก็ได้ละขันธ์อย่างสงบนิ่ง ในเวลา ๒๑.๕๓ น.

ข่าวการมรณภาพของหลวงปู่แหวน ซึ่งตรงกับวันที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๒๘ ก็ได้ทราบถึงฝ่าละอองธุลี
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเรา และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เหมือนกับว่า
ดินฟ้าถล่มไปทั่วเมืองไทย ในหลวงก็ได้พระราชทานโกศหลวง และรดน้ำอาบศพ
ที่สถานพระราชทานปริญญาบัตร แก่นักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่นั้น ก็ได้มีบุคคลทั่วทิศานุทิศ
ไปเคารพศพหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ เป็นครั้งสุดท้าย แล้วก็ได้นำศพของหลวงปู่แหวนมาตั้งบำเพ็ญกุศลที่วัดดอยแม่ปั๋ง ตามเดิม

สิริอายุหลวงปู่แหวนได้ ๙๙ ปี ในหลวงท่านขออายุหลวงปู่แหวนให้ได้ ๑๒๐ ปี
แต่หลวงปู่ก็พูดกับในหลวงว่า เอาเพียง ๙๙ ปี ก็พอเถอะ มันลำบากผู้อยู่
แล้วก็ได้ ๙๙ ปี ตามที่ว่าเอาไว้จริงๆ อันนี้คือพระผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบตามธรรมวินัย
ของพระพุทธศาสนาแท้จริง ขอให้พวกเราทุกๆ คน จงนำเอาเป็นตัวอย่างของหลวงปู่แหวนนี้
ไว้สืบทอดพระพุทธศาสนาต่อไป ศาสนาของเราจะได้เจริญรุ่งเรืองสืบต่อไปข้างหน้า

ประวัติความเป็นมาของ
"พระมงคลวิเสสกถา"

"พระมงคลวิเสสกถา" เป็นพระธรรมเทศนาสำคัญซึ่งเกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ ๔
เป็นพระธรรมเทศนาที่แยบคาย สอดแทรกกุศโลบายเพื่อถวายคำแนะนำแก่พระเจ้าแผ่นดิน
พระสงฆ์ที่จะรับพระราชทานถวายพระธรรมเทศนานี้ ส่วนใหญ่จะถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติว่า
จะต้องเป็นสมเด็จพระสังฆราช นอกเสียจากว่าสมเด็จพระสังฆราชประชวร จึงจะขอพระบรมราชานุญาตโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนเป็นสมเด็จพระราชาคณะองค์อื่นปฏิบัติหน้าที่แทน

เนื้อหาสำคัญในพระมงคลวิเสสกถาได้ยึดถือหลักพระธรรมใน "ทศพิธราชธรรม"
โดยจำแนกอธิบายต่างๆกันไป จึงเป็นบุญกุศลแก่ทุกๆท่าน ที่ได้รับทราบและได้อ่าน
พระธรรมเทศนาที่พระสงฆ์ท่านรับพระราชทานถวายแก่เจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินโดยเฉพาะ

................................................................


__________________
สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นคือทุกข์
   
วันที่ 12/02/54 เวลา 19:02:44   
 



สนใจลงโฆษณา สนใจลงโฆษณา สนใจลงโฆษณา สนใจลงโฆษณา สนใจลงโฆษณา
สนใจลงโฆษณา สนใจลงโฆษณา สนใจลงโฆษณา สนใจลงโฆษณา สนใจลงโฆษณา

Zeiss
ถูกใจกระทู้นี้ + 0ไม่ถูกใจกระทู้นี้ - 0
ส่งข้อความถึงสมาชิกคนนี้
ดู Profile , คำติชม []
Feedback ซื้อ-ขาย []
ดูรายการพระทั้งหมดที่ตั้งประมูล 2 รายการ
เสนอราคาประมูลพระ 407 รายการ
   



เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๙ อันเป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงผนวช
สมเด็จพระสังฆราช กรมวชิญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นพวงศ์) ทรงมอบหมายให้
พระคุณเจ้า พระพรหมมุนี (ผิน สุวโจ) ทำหน้าที่เป็นพระอาจารย์สอนหลักธรรมพระราชทานถวาย
แด่ในหลวง ซึ่งในช่วงเวลานั้น พระพรหมมุนีทรงดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร

พระธรรมเทศนาที่พระพรหมมุนีแสดงพระราชทานถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนี้
เกิดขึ้นในระหว่างที่พระองค์ทรงผนวชอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร เนื้อหามีทั้งที่เป็นบทพระธรรมเทศนา
และบางตอนก็มีบทสนทนาธรรมที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตรัสพระราชปุจฉาธรรมกับพระพรหมมุนี

วันที่ ๒๘ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๙๙
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงผนวชแล้วเป็นวันที่ ๗
พระพรหมมุนีถวายพระธรรมเทศนาเรื่อง "ธรรมะ"


"ธรรม" แปลว่า "ทรง" เป็นทั้ง ๑. กุศล ๒. อกุศล ๓. กลางๆ ธรรมแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ
๑. ธรรมะฝ่ายโลกียะ คือ ไม่มีรู้ เช่น ก้อนหิน กรวด ทราย ต้นไม้ ธรรมอันอยู่ในโลก
๒. ธรรมะที่เป็นโลกุตระ ธรรมอันอยู่เหนือโลกมีรู้อยู่ในตัว

ตัวอย่างเช่น...
โลกียะ คือ เหตุผล ได้ เสีย ชนะ ดี ชั่ว อารมณ์อยากได้ รักใคร่ ฯลฯ ความรู้ที่เปลี่ยนแปลงได้
โลกุตระ คือ รู้ว่าง รู้โปร่ง รู้หยุด รู้เงียบ รู้สงบ รู้นิ่ง รู้ของจริงแจ้งประจักษ์ชัด รู้อยู่กับตัว


วันที่ ๒๙ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๙๙
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงผนวชแล้วเป็นวันที่ ๘
ทรงสนทนาธรรมกับพระพรหมมุนี
เรื่อง "สัจจะ" และ "สังขาร"



พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว: ขณะที่ทรงผนวชอยู่นี้เรียกกันว่า"พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว"
โดยที่ทรงดำรงฐานะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ยังมีอยู่
เป็นเพียงแต่ทรงจีวรเช่นภิกษุเท่านั้น ขอความเห็นจากพระอาจารย์

พระพรหมมุนี : เรื่องนี้ทางธรรมะเรียกว่า "สมมติ" ซ้อน "สมมติ" และ "สัจจะ" ซ้อน "สัจจะ"
ความเป็นพระเจ้าแผ่นดินก็สมมติอย่างหนึ่ง เรียกว่า "สมมติเทพ"
ความเป็นพระภิกษุก็เป็นสมมติอีกอย่างหนึ่งซ้อนขึ้นในสมมติเทพนั้น

ในการเช่นนี้ ผู้ปฏิบัติต้องปฏิบัติให้เหมาะสมกับสมมตินั้นๆ เช่น เมื่อได้รับสมมติเป็นพระภิกษุแล้ว
ก็ต้องปฏิบัติตามสิกขาบทของพระภิกษุโดยเคร่งครัด จักปฏิบัติแต่หน้าที่สมมติเทพอย่างเดียวไม่ได้
แต่หน้าที่ของสมมติเทพที่ไม่ขัดกับสิกขาบทวินัยก็อาศัยได้
เช่น คำที่เรียกว่า เสวย, สรง,บรรทม เป็นต้น ยังใช้ได้

"สัจจะ" คือ ความจริง นั้น ตามที่ท่านอธิบายนั้นมีหลายอย่าง แต่เมื่อกล่าวโดยหลักธรรมก็มี ๒ อย่าง คือ
๑. สมมติสัจจะ จริงโดยสมมติ ยกย่องขึ้นให้เป็นอย่างนั้น ให้เป็นอย่างนี้
เช่น สมมติให้เป็นเทวดา สมมติให้เป็นพระอินทร์ พระพรหม ผู้นั้นก็เป็นตามเขาสมมติเพียงแต่ชื่อ
แต่ไม่ได้เป็นจริงไปเช่นนั้นด้วย เช่น สมมติให้เป็นพระอินทร์ ชื่อพระอินทร์ก็มีอยู่แก่ผู้นั้น
แต่ผู้นั้นก็หาได้เป็นพระนารายณ์ตัวจริงมีสี่กรไม่
๒. สภาวสัจจะ จริงตามสภาวะ เป็นอย่างไรก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ เป็นดินก็เป็นดินจริง
เป็นน้ำก็เป็นน้ำจริง เป็นไฟก็เป็นไฟจริง เป็นลมก็เป็นลมจริง เป็นทุกข์ก็เป็นทุกข์จริง
เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ก็เป็นเหตุให้เกิดทุกข์จริง เป็นความดับทุกข์ก็เป็นความดับทุกข์จริง
เป็นทางให้ถึงความดับทุกข์ก็เป็นทางให้ถึงความดับทุกข์จริง อย่างนี้เป็นจริงตามสภาวะ

ท่านเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ปรมัตถสัจจะ" เมื่อพิจารณาดูแล้ว เป็นชั้นของสัจจะไปแล้ว
ไม่ใช่ตัวสัจจะ เพราะปรมัตถสัจจะ แยกออกเป็น "ปรมะ" แปลว่าอย่างยิ่ง
"อัตถะ" แปลว่าประโยชน์ "สัจจะ" แปลว่าความจริง รวมกันแปลว่า "ความจริงอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง"
เมื่อมีความจริงที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ก็ย่อมส่องความว่า ความจริงที่ไม่เป็นประโยชน์ก็มี
ความจริงที่เป็นประโยชน์ก็มี จึงได้ชั้นดังนี้
() ปรมัตถสัจจะ ความจริงที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
() อัตถสัจจะ ความจริงที่เป็นประโยชน์อย่างสามัญ
() อนัตถสัจจะ ความจริงที่ไม่เป็นประโยชน์

ญาณที่เห็นอริยสัจ ๔ นั้น เป็นประโยชน์อย่างยิ่งของบุคคล เรียกว่า "ปรมัตถสัจจะ"
ญาณรู้เหตุรู้ผลสามัญ หลบจากเหตุที่เสื่อม บำเพ็ญเหตุที่เจริญ นี่เป็น "อัตถสัจจะ"
ญาณที่เห็นผิดจากความจริง นี่เป็น "อนัตถสัจจะ"
บุคคลผู้ปฏิบัติต้องละ "อนัตถสัจจะ" บำเพ็ญแต่ "อัตถสัจจะ" และ "ปรมัตถสัจจะ"

ในส่วนของเรื่อง "สังขาร" สังขารแบ่งออกดังนี้ คือ
๑. สังขารส่วนเหตุที่กำลังปรุง เรียกว่า "สังขารขันธ์"
๒. สังขารส่วนผลที่ปรุงแต่งเสร็จแล้ว เรียกว่า "รูปขันธ์"
ในทางที่ดี เราใช้สังขารให้เป็นประโยชน์ สังขารย่อมปรุงมรรค ปรุงผล
ในทางที่เลว สังขารใช้เรา เราเป็นทาสของสังขาร ย่อมเป็นอันตรายถึงความพินาศ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว : คนที่มีใจเหี้ยม ฆ่าคนแล้วไม่รู้สึกอะไรนั้น จัดเป็นบุคคลประเภทไหน
ทำไมบางคนสร้างกรรมในชาตินี้ไว้มาก จึงยังไม่ได้รับผลของกรรมนั้น กลับเจริญ มีความสุขอยู่ได้ ?

พระพรหมมุนี : ที่เขายังมีความเจริญและความสุขอยู่ ก็เพราะกรรมชั่วที่ทำนั้นยังไม่ให้ผล
บุคคลผู้ทำกรรมชั่วย่อมจะได้รับความเดือดร้อนใจในภายหลัง ที่เรียก "วิปฏิสาร"
บางกรณีก็อาศัยผลของกรรมที่สร้างมาแต่ปางก่อนประกอบการกระทำ
ซึ่งประกอบด้วยสติ ปัญญา วิริยะ เมื่อดีก็ดีเลิศ เลวก็เลวที่สุด ก็เพราะปัญญาของเขาเหล่านั้น

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว : ทำอย่างไรจึงจะระลึกได้ซึ่งชาติก่อนและชาติหน้า ?

พระพรหมมุนี : จะต้องบำเพ็ญตนเองให้สูงขึ้นในการปฏิบัติธรรมและอบรมจิตตนเองให้สูงขึ้นเรื่อยๆ
เป็นลำดับ เช่น เด็กๆ ระลึกหรือจำวันก่อนไม่ได้ ครั้นเจริญวัยก็จำเหตุการณ์ได้บ้าง
และเห็นกาลในอนาคตบ้าง เมื่อเจริญเต็มที่แล้วก็เห็นทั้งเหตุในอดีตและอนาคตอันไกล

วันที่ ๓๐ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๙๙
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงผนวชแล้วเป็นวันที่ ๙
ทรงมีพระราชปุจฉาธรรมกับพระพรหมมุนี

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว : การที่มีคนป่าวข่าว ทำให้เสียชื่อเสียง
และอาจได้รับผลสะท้อนถึงฐานะของครอบครัว ตลอดจนญาติพี่น้องวงศ์ตระกูล
สมควรที่สมณเพศและคฤหัสถ์จะปฏิบัติตนเช่นไร เมื่อมีการเช่นนี้เกิดขึ้น ?

พระพรหมมุนี : ทางสมณเพศ จงกระทำความดีต่อไป ความจริงย่อมหนีความจริงไม่พ้น
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ประทานโอกาสให้แก้ตัว เช่น พระภิกษุที่ถูกใส่ความก็มีโอกาสแก้ตัวได้
ทางด้านคฤหัสถ์ ถ้าจะฟ้องร้องขอความเป็นธรรมจากศาลก็ไม่ผิด แต่ถ้าตั้งใจปฏิบัติชอบต่อไป
โดยไม่สะทกสะท้านต่อการใส่ความ นานเข้าก็คงมีคนเห็นความดีความชอบของเรา
จะถือเป็นกรรมก็ได้ เป็นเรื่องของสังขารส่วนเหตุ คือ คนอื่นปรุงแต่งให้เป็นเรื่องเป็นราว
หลวงพ่อฤาษีลิงดำ
(พระราชพรหมยาน)
วัดท่าซุง อ.เมือง จ.อุทัยธานี


หลวงพ่อฤาษีลิงดำ (พระราชพรหมยาน หรือ พระมหาวีระ ถาวโร)
เป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค พระนักปฏิบัติสายภาคกลาง
หลวงพ่อฤาษีลิงดำมีชื่อเสียงเรื่องความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติสมถกรรมฐานเป็นอย่างมาก
โดยเฉพาะวิธีการปฏิบัติสมถกรรมฐานแบบ "มโนมยิทธิ" ซึ่งเป็นการฝึกสมถสมาธิ
เพื่อให้เกิดความสงบและเกิดอภิญญาฤทธิ์ทางใจไปด้วยพร้อมกัน

การฝึกกรรมฐานแบบ "มโนมยิทธิ" นี้ ถ้าผู้ฝึกมีบุพเพวาสนากรรมทางด้านอภิญญา
เป็นพื้นเดิมในอดีตชาติอยู่แล้ว การปฏิบัติกรรมฐานด้วยวิธีนี้จะทำให้ผู้ปฏิบัติมีอิทธิฤทธิ์สูง
สามารถมองเห็นสิ่งที่คนธรรมดาไม่สามารถมองเห็น เช่น เห็นอดีต เห็นอนาคต
ว่ากันว่าถ้ามีความชำนาญในมโนมยิทธิ จะกำหนดนิมิต ไปดูสวรรค์ นรก พรหมโลก ก็สามารถทำได้

พระราชปุจฉาวิสัชนาธรรม
ระหว่างพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
กับ หลวงพ่อฤาษีลิงดำ


ครั้งแรกที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปกราบนมัสการหลวงพ่อฤาษีลิงดำนั้น
ไม่ปรากฎว่า มีผู้จดบันทึกหรือบันทึกเทปเอาไว้ แต่อาศัยความทรงจำของหลวงพ่อเอง
ที่ท่านได้เขียนบันทึกเอาไว้ในหนังสือเรื่อง "พระเมตตา" จึงทำให้เรามีโอกาสได้รับรู้ถึงบทสนทนาธรรม
ที่มีเนื้อหาน่าสนใจยิ่ง โดยมีใจสำคัญดังต่อไปนี้

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว : ในแดนนี้มีผู้ก่อการร้ายมากหรือ มีบุคคลที่ใจแตกแยกออกไปมาก ?

หลวงพ่อฤาษีลิงดำ : ขอถวายพระพร อาตมาทราบเรื่องผู้ก่อการร้ายมากนี่ ทราบมาตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๕๐๙
เรื่องผู้ก่อการร้ายหรือคนที่มีคติตรงกันข้าม เขาตั้งมุมจะเล่นงานเราที่เขตอำเภอบ้านไร่
เพราะตอนนี้มันต่อกับเขตอะไรไม่ทราบ โน่น..มันจะออกไปเขตพม่าโน่น
เราไม่ต้องการความแตกแยก เราต้องการสามัคคี การสร้างสถานที่ให้มีความโอ่งโถงสวยสดงดงาม
ก็เพื่อจะเป็นกำลังใจแก่บรรดาพุทธบริษัทหรือประชาชนชาวไทย และถือว่ามีความสามัคคี
ซึ่งกันและกัน แต่ว่าบุคคลกลุ่มหนึ่งท่านมีความสำคัญผิดไปจากนั้น เราก็ไม่สามารถช่วยอะไรได้

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว : เรื่องพระสงฆ์นี่มีความสำคัญ อยากจะให้กฎหมายช่วยเหลือพระวินัย
เพราะว่าสถาบันของศาสนาเป็นสถาบันที่ยึดเหนี่ยวกำลังใจคน คนไทยของเราทั้งหลายเป็นส่วนมาก
ถ้าศาสนามีความมั่นคง พระศาสนาเป็นที่ยึดเหนี่ยวใจคน อยากจะให้กฎหมายสนับสนุนพระวินัย
เพราะว่าถ้าพระปฏิบัติอยู่ในพระธรรมวินัยดีแล้ว จิตใจของบุคคลที่ยึดถือยึดเหนี่ยวคำสั่งสอน
ของพระพุทธเจ้า ก็จะพากันมีความกลมเกลียว ประเทศชาติจะมีความสุข

หลวงพ่อฤาษีลิงดำ : อาตมาก็ปรารภอยู่เหมือนกัน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
อาตมาก็เคยปรารภกับอธิบดีกรมศาสนา อาตมาทำอยู่แล้ว และร่วมมือกับอธิบดีกรมการศาสนา

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว : พวกเด็กๆ เขาไม่เชื่อกฎแห่งกรรม เมื่อเร็วๆนี้ ไฟไหม้ที่สลัม
สลัมจุดไหนมีไฟไหม้ขึ้น ก็มีพวกเด็กๆ เขาออกหนังสือเวียนเป็นหนังสือเลย ออกประกาศโฆษณา
ทำอย่างไรดี ถึงจะให้เด็กรู้กฎแห่งกรรม ?

หลวงพ่อฤาษีลิงดำ : เวลานี้อาตมาก็หาทางจะให้คนทั้งหลายมีความเข้าใจในกฎแห่งกรรม
รู้คุณค่าของพระพุทธศาสนา อาตมาก็พยายามทำ อย่างการเขียนหนังสือเรื่องของหลวงพ่อปาน
มีการโลดโผนโจนทะยานเป็นกรณีพิเศษ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว : บางคนเขาจะหาว่าพระนี่เขียนหนังสือโลดโผนเกินไป
จะเห็นว่าเป็นการไม่สมควร แต่แม้กระผมเองก็มีความคิดเห็นว่า ในกาลบางครั้งก็มีความจำเป็นเหมือนกันขอรับ
...ผมเหน็ดเหนื่อยมาก... มีผู้มีความรู้บอกว่า ผมจะต้องเหน็ดเหนื่อยมาก
คนที่มีความรู้เขาบอกว่า ผมจะไม่มีโอกาสจะหายความเหน็ดเหนื่อยเลย

หลวงพ่อฤาษีลิงดำ : เรื่องนี้ก็เป็นธรรมดาของพระมหากษัตริย์ที่มีพระมหากรุณาธิคุณต่อพสกนิกร
บรรดาพสกนิกรมีความทุกข์ร้อนทุกข์ยากอยู่ที่ไหน ก็ต้องมีความเหน็ดเหนื่อย ต้องไปเยี่ยมเยือน
ไปให้ความสุขเขา อย่างน้อยไปให้กำลังใจ ให้ความช่วยเหลือเท่าที่จะทำได้
...เรื่องนี้เป็นที่ประทับใจของประชากรทั้งหลายโดยทั่วไป เราปฏิเสธกันไม่ได้...

ถ้าหากว่า ข้าราชการของพระองค์ (หมายถึงข้าราชการทุกคน) ปฏิบัติอย่างพระองค์บ้าง
ประเทศชาติจะมีความสุข การที่จะมีผู้ก่อการร้ายหาไม่ได้แน่ เพราะเราจะไปทางไหน
เราก็จะเจอผู้ก่อการดี จงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ต่อข้าราชการ
แล้วคนทั้งหมดนั้น ก็จะมีความจงรักภักดีเป็นปึกแผ่นอยู่ในแผ่นดินไทย
เมืองไทยถึงแม้ว่าจะเป็นเมืองเล็ก เรามีกำลังน้อย บรรดาพุทธบริษัท ถ้าเรารวมกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน
เต็มไปด้วยความสามัคคี ประเทศถึงแม้จะใหญ่เข้ามาโจมตี ก็รู้สึกว่ายาก
ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะความสามัคคีนี่มีกำลังมาก ยากที่คนจะทำลายได้

ถ้าหากว่า ข้าราชการของพระองค์ปฏิบัติอย่างพระองค์บ้าง เป็นผู้เสียสละ ความจริงเงินเดือนของเรา
ก็มีแล้ว เงินเดือนทุกเดือนบรรดาพุทธบริษัท เขาให้ใช้พอเดือน แต่ที่ไม่พอเพราะไม่รู้จักปริมาณการใช้
ทะเยอทะยานมากไป เลยเมื่อมันไม่พอใช้ก็ต้องหาทางอื่นที่มันไม่ตรงกับระเบียบข้าราชการ
ถ้าทุกคนอยู่ในระเบียบ อยู่ในวินัย ตัดความละโมบโลภในด้านวัตถุเสีย และทำตัวให้เหมาะสมกับ
ระเบียบข้าราชการ นี่ทุกคนทำได้ตามแบบนี้ รับรองว่าไม่มีการแตกแยก ไม่มีผู้ก่อการร้าย

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว : บรรดาประชาชนทั้งหลายทุกคน ถ้าต่างคนต่างรักษาศีลห้าครบถ้วน
บ้านเมืองจะมีความสุข เรื่องศีลห้านี่เป็นของยาก คนเขาไม่ค่อยจะเห็นคุณเห็นโทษ
และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระ พระนี่เมื่อมีความผิดแล้ว ก็มีอาบัติเป็นเครื่องปรับ
แต่คนเขาขาดศีลห้าไม่มีอาบัติเป็นเครื่องปรับ เป็นของยากที่จะให้คนเห็นโทษเห็นคุณในการรักษาศีลห้า

หลวงพ่อฤาษีลิงดำ : หลวงพ่อปานท่านไม่ต้องการให้คนละศีลห้า
หลวงพ่อปานต้องการอย่างเดียว คือ ให้คนละศีล ๒

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว : (ทรงแย้มพระโอษฐ์แล้วตรัสถาม) ศีล ๒ มีอะไรบ้างขอรับ ?

หลวงพ่อฤาษีลิงดำ : ศีล ๒ ที่หลวงพ่อปานต้องการนั่นก็คือ
๑.อทินนาทานต้องการให้คนไม่ลักขโมยไม่คดโกงซึ่งกันและกัน ยอมรับนับถือในสิทธิสมบัติซึ่งกันและกัน
๒. หลวงพ่อปานต้องการให้คนละการดื่มสุราและเมรัย
ศีล ๒ ของหลวงพ่อปานนี้มีความสำคัญมาก เพราะในอันดับแรก ถ้าทุกคนไม่คดโกงซึ่งกันและกันแล้ว
สุขมันก็จะมีมากขึ้นมามาก ทุกคนต่างยอมรับนับถือในสิทธิในสมบัติซึ่งกันและกัน
แล้วอีกประการหนึ่ง ถ้าคนทั้งหลายไม่เสพสุราเมรัย จิตใจก็ทรงสติสัมปชัญญะสมบูรณ์
ความเร่าร้อนของประเทศชาติก็จะลดน้อยลงไป ประเทศชาติจะมีแต่ความเยือกเย็น
และเมื่อ ๒ ศีล ครบถ้วนบริบูรณ์แล้ว ในไม่ช้าอีก ๓ ศีล ก็ครบถ้วนบริบูรณ์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว : (ทรงแย้มพระโอษฐ์อีก แล้วค่อยตรัสว่า)
เมื่อก่อนนี้มันยุ่งเหลือเกินขอรับ มันติดอยู่ในวัตถุ ยุ่งมาก แต่เวลานี้สบายใจมากแล้ว เพราะไม่ติดในวัตถุ
วันนี้ผมมีความสุขใจมาก ผมมีความสบายใจมาก...


พระธรรมเทศนาหน้าพระที่นั่ง
ณ พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์
เมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๒๐
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
ทรงมีพระราชปุจฉาธรรมกับพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)



พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว : เขาพูดกันว่า ผมปรารถนาพุทธภูมิเป็นความจริงไหมครับ ?

หลวงพ่อฤาษีลิงดำ : เรื่องปรารถนาพุทธภูมินี่ พระองค์ปรารถนามานาน แต่เวลานี้
บารมีเป็น "ปรมัตถบารมี" แล้ว ก็เหลืออีก ๕ ชาติ และที่พระองค์ปฏิบัติมามันเลยแล้ว ไม่ใช่ไม่สำเร็จ
พุทธภูมินี่ต้องบำเพ็ญกันมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระองค์เป็น "วิริยาธิกะ"
วิริยาธิกะนี่ต้องบำเพ็ญบารมีถึง ๑๖ อสงไขยกำไรแสนกัป
นี่บำเพ็ญมาเกิน ๑๖ อสงไขยแล้ว "แสนกัป" อาจยังไม่ครบ จึงต้องเกิดอีก ๕ ชาติ

สมเด็จพระนางเจ้าฯ : พระเจ้าอยู่หัวก็ดี หม่อมฉันก็ดี ก็มีความเคารพในพระคุณ
พระราชวงศ์จักรีอยู่ตลอดเวลา ที่ท่านทรงสามารถจะทรงความเป็นเอกราชไว้ได้
ก็อยากจะทราบว่า ทั้งสององค์นี่จะทรงชาติกับศาสนาไว้ได้ไหม ?

หลวงพ่อฤาษีลิงดำ : ก็ได้ ประเทศเราไม่มีเกณฑ์จะต้องตกเป็นเหยื่อคอมมิวนิสต์

สมเด็จพระนางเจ้าฯ : ฉันทั้งสององค์นี่ ทั้งพระเจ้าอยู่หัวด้วยและฉันด้วย
จะต้องตายเพราะการที่เขามุ่งจะร้ายไหม ?

หลวงพ่อฤาษีลิงดำ : ก็เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนี่เป็นนักรบฝีมือดีมาจากสุโขทัย
และมาเกิดคราวนี้ต้องการจะเกิดเพื่อจรรโลงให้คงอยู่ ให้ชาติมีความร่มเย็นเป็นสุข
แล้วเรื่องอะไรที่ต้องตายเพราะคมอาวุธล่ะ ถ้าจะเจ็บตายเอง เป็นเรื่องธรรมดา
และต้องตายด้วยเรื่องคมอาวุธ อันนี้ไม่มี...
หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
(พระธรรมวิสุทธิมงคล)
วัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี


หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน (พระธรรมวิสุทธิมงคล) เป็นลูกศิษย์รุ่นสุดท้ายของหลวงปู่มั่น
และได้ปรนนิบัติรับใช้หลวงปู่มั่นในช่วงที่ท่านเริ่มอาพาธหนักขึ้น ที่วัดป่าบ้านหนองผือ
จวบจนกระทั่งวาระสุดท้ายที่หลวงปู่มั่นดับขันธ์ ท่านจึงเป็นลูกศิษย์ที่ใกล้ชิดหลวงปู่มั่นมากองค์หนึ่ง
และหลวงปู่มั่นก็ไว้วางใจมอบหมายให้ท่านควบคุมดูแลพระเณรทั้งหมดในช่วงเวลานั้น
หลวงตามหาบัวมีนิสัยและปฏิปทาธรรมที่เด็ดเดี่ยวจริงจัง ท่านจึงขึ้นชื่อลือชาว่าดุ
และเคร่งครัดคล้ายหลวงปู่มั่น เมื่อหลวงปู่มั่นดับขันธ์ ท่านจึงได้รับการยอมรับว่า
เป็นที่ยึดเหนี่ยวทางใจ และเป็นหลักที่พึ่งพิงของเหล่าพระป่ากรรมฐานสืบต่อมา

พระราชปุจฉาวิสัชนาธรรม
ระหว่าง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
กับ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
ณ วัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี
วันที่ ๗ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๓๑
ซึ่งพระอาจารย์ภูสิต ขันติธโร (พระอุปัฏฐากหลวงตามหาบัว) เป็นผู้บันทึกจากความทรงจำ


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว : หลวงปู่ครับ "สาวกภูมิ" กับ "พุทธภูมิ" ต่างกันอย่างไร ?

หลวงตามหาบัว : พุทธภูมิก็เหมือนดั่งเรานั่งรถไฟ นั่งรถไฟไปเชียงใหม่
หรือนั่งรถไฟไปอุดรนั่นแหละ..พุทธภูมิ
แต่ถ้าเรานั่งจักรยานมา หรือนั่งมอเตอร์ไซค์ ขี่มอเตอร์ไซค์ไปนั่นแหละ..สาวกภูมิ
เพราะฉะนั้น การเป็นพุทธภูมิก็คือ การนำคนไปได้เยอะๆ ส่วนสาวกภูมินั้นนำไปได้น้อยๆ
ไม่ได้มากนัก อย่างเก่งก็ ๑ คน หรือ ๓-๔ คน ก็ว่ากันไป นั่นคือสาวกภูมิ เข้าใจไหมล่ะ พ่อหลวง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว : เข้าใจแล้วหลวงปู่ แล้ว "นิพพาน" เป็นอย่างไรนะ หลวงปู่ ?

หลวงตามหาบัว : อ้อ..พ่อหลวง เหมือนพ่อหลวงมาวัดป่าบ้านตาดนี่แหละ
รู้ไหมว่าวัดบ้านตาดอยู่ตรงไหน อยู่บนกุฏินี่เหรอ วัดป่าบ้านตาดอยู่ไหนล่ะ
แต่พอพระมหากษัตริย์มาถึงนี่แล้ว บริเวณนี้ทั้งหมดคือ วัดป่าบ้านตราดนี้แหละ
แต่จะชี้ลงไปว่าที่กุฏิอาตมาก็ไม่ใช่ ที่กุฏิพระก็ไม่ใช่ ที่ศาลาก็ไม่ใช่ ไม่ใช่ทั้งหมด
แต่เมื่อรวมกันทั้งหมดในกำแพงวัดนี้นี่แหละ คือวัดป่าบ้านตราด
นี่แหละพระนิพพานก็มีความหมายแบบเดียวกัน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว : ขอบารมีหลวงปู่ ช่วยต่ออายุให้แม่หลวง (สมเด็จย่า)

หลวงตามหาบัว : พ่อหลวงนั่นแหละก็จัดการเองได้ ขอเองได้ จัดการเอง อาตมาต่อให้ไม่ได้หรอก

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว : เอาล่ะ.. ได้เวลาแล้ว จะกลับแล้ว หลวงปู่มีอะไรจะบอกไหม ?

หลวงตามหาบัว:การเป็นพุทธภูมิ สร้างบารมีเพื่อความเป็นพุทธะ พอจบพุทธภูมิได้ก็เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว
พระพุทธเจ้าก็มีพุทธกิจ ๕ คือ ตอนเช้าบิณฑบาตร ตอนบ่ายสอนคหบดีมนุษย์ทั่วไป
ตกเย็นสอนนักบวชสมณะชีพราหมณ์ ตอนกลางคืนแก้ปัญหาเทวดา พอมาตอนเช้ามืดเล็งญาณดูสัตว์โลก
สัตว์โลกตัวไหนมีกิเลสเบาบางพอที่จะบรรลุธรรมได้ ท่านก็จะเล็งญาณดู รีบไปโปรดก่อน
พระพุทธเจ้าสร้างบารมีพุทธภูมิจนได้เป็นพระพุทธเจ้า เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว
ท่านก็มีพระพุทธกิจ ๕ อย่างนี้ แต่..ไม่รู้ว่าพ่อหลวงแม่หลวงของประเทศไทยปรารถนาอะไร
ทำงานกันจนไม่มีเวลาจะพักผ่อน เอาล่ะๆ อาตมาจะให้พร

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว : อยากให้ท่านอาจารย์อยู่กับหลวงปู่ไปนานๆ

(ในขณะนั้น พระอาจารย์ภูสิต ขันติธโร กำลังป่วยเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว)

พระอาจารย์ภูสิต ขันติธโร : เจริญพร มหาบพิตร อาตมาก็อยากจะอยู่
แต่ถ้าถึงเวลาที่อาตมาจะต้องเอาตัวเองให้รอด อาตมาก็ขอเอาตัวเองให้รอดก่อน
เพราะทุกอย่างเป็นเหตุเป็นผล ถึงเวลาไปก็ต้องไปเหมือนกัน
1 : วันที่ 12/02/54 เวลา 19:17:00 

Zeiss
ถูกใจกระทู้นี้ + 0ไม่ถูกใจกระทู้นี้ - 0
ส่งข้อความถึงสมาชิกคนนี้
ดู Profile , คำติชม []
Feedback ซื้อ-ขาย []
ดูรายการพระทั้งหมดที่ตั้งประมูล 2 รายการ
เสนอราคาประมูลพระ 407 รายการ
   



พระธรรมเทศนาหน้าพระที่นั่ง
ณ พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์
เมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๒๐
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
ทรงมีพระราชปุจฉาธรรมกับพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)



พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว : เขาพูดกันว่า ผมปรารถนาพุทธภูมิเป็นความจริงไหมครับ ?

หลวงพ่อฤาษีลิงดำ : เรื่องปรารถนาพุทธภูมินี่ พระองค์ปรารถนามานาน แต่เวลานี้
บารมีเป็น "ปรมัตถบารมี" แล้ว ก็เหลืออีก ๕ ชาติ และที่พระองค์ปฏิบัติมามันเลยแล้ว ไม่ใช่ไม่สำเร็จ
พุทธภูมินี่ต้องบำเพ็ญกันมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระองค์เป็น "วิริยาธิกะ"
วิริยาธิกะนี่ต้องบำเพ็ญบารมีถึง ๑๖ อสงไขยกำไรแสนกัป
นี่บำเพ็ญมาเกิน ๑๖ อสงไขยแล้ว "แสนกัป" อาจยังไม่ครบ จึงต้องเกิดอีก ๕ ชาติ
หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ
วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่


"พระองค์มัวแต่เป็นห่วงคนอื่น แต่ไม่ทรงห่วงพระองค์เองบ้างเลย.."

พระภิกษุพระยานรรัตนราชมานิต (ธมฺมวิตกฺโกภิกขุ)
วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร


"ในหลวงพระองค์นี้ ท่านเป็นพระโพธิสัตว์น๊ะ.."

หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
(พระราชสังวรญาณ)
วัดป่าสาลวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา


"วันหนึ่งข้างหน้า ในหลวงจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งของโลก"

"ในหลวงเป็นพระโพธิสัตว์ ปรารถนาพุทธภูมิ"
2 : วันที่ 12/02/54 เวลา 19:35:00 

abby28
ถูกใจกระทู้นี้ + 0ไม่ถูกใจกระทู้นี้ - 0
ส่งข้อความถึงสมาชิกคนนี้
ดู Profile , คำติชม [488]
Feedback ซื้อ-ขาย [177]
ดูรายการพระทั้งหมดที่ตั้งประมูล 693 รายการ
เสนอราคาประมูลพระ 609 รายการ
   



3 : วันที่ 14/02/54 เวลา 23:58:00 

ชเอม
ถูกใจกระทู้นี้ + 0ไม่ถูกใจกระทู้นี้ - 0
ส่งข้อความถึงสมาชิกคนนี้
ดู Profile , คำติชม []
Feedback ซื้อ-ขาย []
ดูรายการพระทั้งหมดที่ตั้งประมูล 86 รายการ
เสนอราคาประมูลพระ 78 รายการ
   



สุดยอดของสุดยอด
ขอขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่ง
ในข้อมูลทั้งหมดที่นำเสนอ
4 : วันที่ 18/02/54 เวลา 23:22:00 

พี่นิ่ม
ถูกใจกระทู้นี้ + 0ไม่ถูกใจกระทู้นี้ - 0
ส่งข้อความถึงสมาชิกคนนี้
ดู Profile , คำติชม []
Feedback ซื้อ-ขาย []
ดูรายการพระทั้งหมดที่ตั้งประมูล 125 รายการ
เสนอราคาประมูลพระ 387 รายการ
   



สุดยอดค่ะไม่เคยทราบเรื่องราวแบบนี้มาก่อนเลย ขอบพระคุณเจ้าของกระทู้มาก ๆค่ะ
5 : วันที่ 01/03/54 เวลา 11:43:00 

ละลายทรัพย์
ถูกใจกระทู้นี้ + 0ไม่ถูกใจกระทู้นี้ - 0
ส่งข้อความถึงสมาชิกคนนี้
ดู Profile , คำติชม []
Feedback ซื้อ-ขาย []
ดูรายการพระทั้งหมดที่ตั้งประมูล 1862 รายการ
เสนอราคาประมูลพระ 2725 รายการ
   



ขอบพระคุณ มาก มากครับ
6 : วันที่ 05/03/54 เวลา 23:13:00 

บัวตอง
ถูกใจกระทู้นี้ + 0ไม่ถูกใจกระทู้นี้ - 0
ส่งข้อความถึงสมาชิกคนนี้
ดู Profile , คำติชม [234]
Feedback ซื้อ-ขาย [429]
ดูรายการพระทั้งหมดที่ตั้งประมูล 1786 รายการ
เสนอราคาประมูลพระ 2375 รายการ
   



ขอบคุณมากครับ ที่ให้สิ่งที่เราไม่เคยรู้มาก่อนเลยครับ
7 : วันที่ 10/03/54 เวลา 01:38:00 

tong1234
ถูกใจกระทู้นี้ + 0ไม่ถูกใจกระทู้นี้ - 0
ส่งข้อความถึงสมาชิกคนนี้
ดู Profile , คำติชม []
Feedback ซื้อ-ขาย []
ดูรายการพระทั้งหมดที่ตั้งประมูล 0 รายการ
เสนอราคาประมูลพระ 250 รายการ
   



กราบขอบพระคุณเจ้าของกระทู้  และเจ้าของข้อมูล ที่เป็นประโยชน์ เป็นแรงบันดาลใจให้ใฝ่ดี ขอบคุณมากๆ ครับ
8 : วันที่ 10/04/54 เวลา 19:55:00 

kit7999
ถูกใจกระทู้นี้ + 0ไม่ถูกใจกระทู้นี้ - 0
ส่งข้อความถึงสมาชิกคนนี้
ดู Profile , คำติชม []
Feedback ซื้อ-ขาย []
ดูรายการพระทั้งหมดที่ตั้งประมูล 231 รายการ
เสนอราคาประมูลพระ 5 รายการ
   



ขอบคุณที่ให้ข้อมูลดีดี.............
9 : วันที่ 15/05/54 เวลา 23:05:00 

prakitb
ถูกใจกระทู้นี้ + 0ไม่ถูกใจกระทู้นี้ - 0
ส่งข้อความถึงสมาชิกคนนี้
ดู Profile , คำติชม []
Feedback ซื้อ-ขาย []
ดูรายการพระทั้งหมดที่ตั้งประมูล 0 รายการ
เสนอราคาประมูลพระ 390 รายการ
   



yesyesyesheart

10 : วันที่ 14/08/54 เวลา 23:26:00 



Copyright 2002-2013, All Rights Reserved. สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ลิขสิทธิ์ & นโยบายส่วนตัว
หน้านี้ใช้เวลาในการแสดงผล 0.625 วินาที
   
  นำขึ้นหน้าแรก
  คุณต้องการนำกระทู้นี้ขึ้นหน้าแรกในส่วน :
    
  
    
   
     
  รายละเอียดการโหวตพระ
     
   ประเภทการโหวต :  
สำหรับสมาชิกที่โหวตให้เป็นพระเก๊ "ห้ามพูดส่อเสียด ใช้คำไม่เหมาะสม คำด่า คำกระแทกเด็ดขาด แม้ว่าจะเป็นพระเก๊ก็ตามฝ่าฝืนโดนระงับการใช้งานสิบวันเพื่อความสงบสุขไม่ทะเลาะกันภายหลัง หากเป็นไปได้ควรแสดงความเห็น อธิบาย พอควร เมื่อโหวตว่าเก๊ เพื่อจะเป็นประโยชน์ต่อทุกคน"
   เหตุผล :
   
     
ลบกระทู้
กรุณาระบุเหตุผลที่ท่านต้องการลบ :